วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันที่ 15 มกราคม 2554

วันนี้เป็นวันเสาร์เรียนเสริม

อาจารย์ได้สอนเรื่อง
1. ระยะเปะปะ
อายุตั้งแต่แรกเกิด - 6 เดือน เด็กทารกมีการเปล่งเสียงอย่างไม่มีความหมาย เมื่ออายุ 6 เดือน เสียงของเด็กจะเริ่มชัดเจน
2. ระยะแยกแยะ
อายุ 6 เดือน - 1 ปี เด็กจะเริ่มแยกแยะเสียงที่ เขาได้ยินในสิ่งแวดล้อม เช่น เสียงพูดคุยของแม่หรือผู้ให้เสียง
3. ระยะเลียนแบบ
อายุ 1 - 2 ปี เสียงที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะเสียงของคนใกล้ชิด
4. ระยะขยาย
2 - 4 ปี เด็กจะเริ่มหัดพูดโดยเปล่าเสียงออกมาเป็นคำ ๆ ระยะแรกจะเป็นการพูด
อายุ 2 ปี เริ่มพูดเป็นคำและสามารถใช้คำที่เป็นคำนามได้ถึงร้อยละ 20
อายุ 3 ปี เด็กจะเริ่มพูดเป็นประโยคได้
อายุ 4 ปี เริ่มใช้คำศัพท์ต่าง ๆ ได้กว้างขวาง
5. ระยะโครงสร้าง
อายุ 4 - 5 ปี การรับรู้และการสังเกตของเด็กวัยนี้ดีขึ้นมากซึ่งทำให้เด็กได้สังเกตการณ์ใช้ภาษาของบุคคลรอบข้าง เช่น การฟังนิทาน
6. ระยะตอบสนอง
อายุ 5 - 6 ปี การพัฒนาทางภาษาของเด็กวัยนี้จะเริ่มสูงขึ้นเพราะเด็กจะเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาล
7. ระยะสร้างสรรค์
อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป เด็กจะพัฒนาความสามารถทางภาษาได้สูงขึ้น จดจดสัญลักษณ์ทางภาษาได้มากขึ้นสำหรับด้านการพูด

การใช้ภาษา
เด็กจะเรียนรู้ การใช้ภาษาอย่างเหมาะสม

เพลง
ตา หู จมูก จับให้ถูก จับ จมูก ตา หู
จับใหม่จับจับให้ฉันดู ๆ จับ จมูก ตา หู จับ หู ตา จมูก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น