วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12


วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554


บรรยากาศในห้องวันนี้
บรรยากาศดี อย่างทุก ๆ วัน อาจารย์มีการพูดคุยกันอย่างสนุก


มุมที่ดีคือ

การจัดมุมประสบการณ์ที่ควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาตัวหนังสือ สัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่่องที่เรียน มีมุมที่เด็กสนใจ โดยสามารถเข้าไปเรียนรู้ ซึมซับอย่างเอิบอาบไปด้วยภาษาได้ตลอดเวลา
ข้อคิดสำหรับการสอนภาษา

เริ่มจากตัวเด็กก่อน ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมหรือความสนใจ
- สอนแบบเป็นธรรมชาติ
- สอนอย่างมีความหมาย
- สอนจากสิ่งที่เด็กได้พบเห็น หรือมีประสบการณ์มาก่อน
- สอนให้เด็กรู้สึกสนุกและอยากเรียน ไม่ใช่ฝึกแต่ให้ใช้
- ให้โอกาสเด็กได้ใช้ภาษา เช่น เด็กอยากพูดก็ควรให้พูด เด็กอยากฟังก็ควรให้ฟัง
เด็กอยากอ่านก็ควรให้อ่าน

ควรสอนอ่านก่อนขึ้นชั้นประถมศึกษาปีที่1 หรือไม่
ควร ถ้าสถานการณ์เป็นไปตามนี้
- เป็นความปรารถนาจาดตัวเด็ก
- วิธีการเหมาะสมกับตัวเด็ก
- เด็กมีความพร้อมที่จะอ่าน
- เด็กได้ใช้การอ่านเพื่อเสริมประสบการณ์
- ครูสร้างความสนใจในคำและหนังสือ

ไม่ควร ถ้าสถานการณ์เป็นไปตามนี้
☺เน้นความจำ
☺เน้นการฝึก
☺ใช้การทดสอบ
☺สอนแต่ละทักษะแยกจากกัน
☺การตีตราเด็ก
☺ใช้แบบฝึกที่เป็นกระดาษและดินสอ เส้นจุดปะ
☺ไม่ยอมรับความผิดพลาด
☺สอนภาษาเฉพาะในเวลาที่กำหนด
☺ช่วงการสอนภาษาจะจำกัดและให้เป็นช่วงเงียบๆไม่ใช้เสียง
☺จำกัดวัสดุ อุปกรณ์อาจเหลือเพียงแบบฝึกดินสอ หนังสือ แบบเรียน
☺ทำให้การเรียนภาษาเป็นสิ่งที่น่าเบื่อ

เทคนิคที่ควรนำมาใช้สอนภาษา
♥ สอนในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ
♥ สอนสิ่งที่มีความหมายสำหรับเด็ก
♥ สอนจากสิ่งที่รู้ไปสู่สิ่งที่ไม่รู้
♥ บูรณาการเข้ากับสาขาวิชาอื่น
♥ ให้โอกาสเด็กทุกคนเรียนรู้ภาษา
♥ ใช้ความคิดและถ้อยคำของเด็ก
♥ ยอมรับการคาดเดาของเด็ก
♥ ให้โอกาสเด็กอย่างมากมายในการใช้ทักษะต่างๆ
♥ จัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
♥ ทำให้การเรียนรู้น่าสนใจและสนุกสนาน

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันที่ 18 มกราคม 2554

วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง

1. คำคล้องจอง
2. รู้สึกอย่างไรเมื่อนึกถึง
เรื่องขำขำ
เรื่องแปลกใจ
เรื่องเศร้า
เรื่องหงุดหงิด
เรื่องดีใจ
3. วาดภาพครอบครัวของฉัน
4. ฟังคำสั่งอาจารย์
5. ฟังคำสั่งอาจารย์การปฎิบัติคำตรงกันข้าม
6.กระซิบต่อ ๆ กัน
7. วาดภาพแต่ละคนและเชื่อมโยงเป็นนิทาน
8. ร้องเพลง
9. เล่าไปวาดไป

สุดท้าย
อาจารย์ให้หาคำที่จะไปทำปฏิทิน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันที่ 15 มกราคม 2554

วันนี้เป็นวันเสาร์เรียนเสริม

อาจารย์ได้สอนเรื่อง
1. ระยะเปะปะ
อายุตั้งแต่แรกเกิด - 6 เดือน เด็กทารกมีการเปล่งเสียงอย่างไม่มีความหมาย เมื่ออายุ 6 เดือน เสียงของเด็กจะเริ่มชัดเจน
2. ระยะแยกแยะ
อายุ 6 เดือน - 1 ปี เด็กจะเริ่มแยกแยะเสียงที่ เขาได้ยินในสิ่งแวดล้อม เช่น เสียงพูดคุยของแม่หรือผู้ให้เสียง
3. ระยะเลียนแบบ
อายุ 1 - 2 ปี เสียงที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะเสียงของคนใกล้ชิด
4. ระยะขยาย
2 - 4 ปี เด็กจะเริ่มหัดพูดโดยเปล่าเสียงออกมาเป็นคำ ๆ ระยะแรกจะเป็นการพูด
อายุ 2 ปี เริ่มพูดเป็นคำและสามารถใช้คำที่เป็นคำนามได้ถึงร้อยละ 20
อายุ 3 ปี เด็กจะเริ่มพูดเป็นประโยคได้
อายุ 4 ปี เริ่มใช้คำศัพท์ต่าง ๆ ได้กว้างขวาง
5. ระยะโครงสร้าง
อายุ 4 - 5 ปี การรับรู้และการสังเกตของเด็กวัยนี้ดีขึ้นมากซึ่งทำให้เด็กได้สังเกตการณ์ใช้ภาษาของบุคคลรอบข้าง เช่น การฟังนิทาน
6. ระยะตอบสนอง
อายุ 5 - 6 ปี การพัฒนาทางภาษาของเด็กวัยนี้จะเริ่มสูงขึ้นเพราะเด็กจะเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาล
7. ระยะสร้างสรรค์
อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป เด็กจะพัฒนาความสามารถทางภาษาได้สูงขึ้น จดจดสัญลักษณ์ทางภาษาได้มากขึ้นสำหรับด้านการพูด

การใช้ภาษา
เด็กจะเรียนรู้ การใช้ภาษาอย่างเหมาะสม

เพลง
ตา หู จมูก จับให้ถูก จับ จมูก ตา หู
จับใหม่จับจับให้ฉันดู ๆ จับ จมูก ตา หู จับ หู ตา จมูก



วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

อาจารย์ไปธุระและอาจารย์ได้ให้อาจารย์เหมียวมาสอนแทน
วันนี้ได้อ. เหมียวได้แจกกระดาษแผ่นใหญ่ ๆ ให้นักศึกษาได้ออกแบบหน้าปกปริศนาคำทาย และวาดรูปใส่กระดาเป็นหนังสือเล่มใหญ่